IT Records

เทคโนโลยีสำหรับมนุษยชาติ.

Data Center

ปกป้องข้อมูลที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ.

New Technology

การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล.

Cable management

จัดการกับสายเคเบิลอย่างเป็นระเบียบช่วยให้การแก้ปัญหาง่ายขึ้น.

High performance computer

เพิ่มพลังประมวลผลให้กับเครื่องมือทางธุรกิจ.

การกำหนดค่า WP Memory Limit ใน Wordpress

การกำหนดค่า WP Memory Limit ใน Wordpress


ปกติแล้ว Wordpress จะจำกัดค่าของ WP Memory Limit ไว้ที่ 40 MB ทั้งที่ Web Server ส่วนใหญ่จะอนุญาติไว้มากกว่านั้น เช่น 256 MB หรือ 512 MB เมื่อเราใช้ Theme หรือ Plugin ที่ต้องการใช้ Memory มากกว่า 40MB ก็อาจเป็นปัญหากับเว็บ Wordpress ของเราได้

WP Memory Limit


ดังนั้นเราจึงต้องทำการกำหนดค่า WP Memory Limit ให้สามารถใช้งานได้ตามที่ Theme หรือ Plugin ที่เราใช้ต้องการ โดยการแทรกโค๊ดคำสั่งต่อไปนี้ลงในไฟล์ wp-config.php


ต้องการกำหนดค่า WP Memory Limit เป็น 256 MB

ทำความเข้าใจหน่วยความจุข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์

คราวที่แล้วผมพูดถึงตัวย่อของหน่วยความจุข้อมูล bit(b) และ Byte(B) ซึ่งหลายคนน่าจะเข้าใจและใช้ได้ถูกต้องแล้วนะครับ แต่จากประสบการณ์ของผมยังมีผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่ยังสงสัยว่าสองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และหลายคนไม่สามารถบอกได้ว่าไฟล์ขนาด 1 KB กับไฟล์ขนาด 1 MB อันไหนมีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ากัน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับ












อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเช่น Harddisk, Flash Drive, Memory Card, RAM หรือหน่วยความจำอื่นๆ จะมีขนาดความจุที่สามารถจุข้อมูลได้ โดยมีหน่วยวัดเป็น Byte(B) เช่น Harddisk ความจุ 500 GB เป็นต้น นอกจากนี้ขนาดไฟล์ข้อมูลจะใช้หน่วยเป็น Byte เช่นกัน ตัวอย่างเช่นไฟล์รูปภาพมีขนาด 151 KB ตามรูปที่แสดงด้านล่างครับ



ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน bit ถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดประกอบด้วยสัญลักษณ์ตัวเลข 0 หรือ 1 ซึ่งก็คือสัญลักษณ์ในระบบตัวเลขฐานสองนั่นเอง โดย 8 bit จะเท่ากับ 1 Byte หรือ 1 ตัวอักษร

1 ไบต์(B) เท่ากับ 8 บิต(b )
1 กิโลไบต์(KB) เท่ากับ 1024 ไบต์(B)
1 เมกะไบต์(MB) เท่ากับ 1024 กิโลไบต์(KB)
1 กิกะไบต์(GB) เท่ากับ 1024 เมกะไบต์(MB)
1 เทระไบต์(TB) เท่ากับ 1024 กิกะไบต์(GB)
1 เพตะไบต์(PB) เท่ากับ 1024 เทระไบต์(TB)
1 เอกซะไบต์(EB) เท่ากับ 1024 เพตะไบต์(PB)
1 เซตตะไบต์(ZB) เท่ากับ 1024 เอกซะไบต์(EB)
1 ยอตตะไบต์(YB) เท่ากับ 1024 เซตตะไบต์(ZB)






ปัจจุบันอุปกรณ์บันทีกข้อมูลและหน่วยความจำต่างๆจะระบุหน่วยเป็น กิโลไบต์(KB) เมกะไบต์(MB) กิกะไบต์(GB) และเทระไบต์(TB) ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีค่าตัวคูณต่างกัน 1024  แต่คนทั่วไปมักจะประมาณค่าตัวคูณเป็น 1000 เพื่อความสะดวกในการคำนวนซึ่งตรงกับชื่อหน่วยที่ใช้จริงที่เป็นเลขฐานสิบเช่น กิโล ใช้ตัวคูณ 103  เป็นต้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ทาง IS(International System of Unit) จึงได้กำหนดหน่วยสำหรับตัวคูณระบบฐานสองขึ้นเช่น กิโลไบต์(KB) เป็น กิบิไบต์(KiB) ใช้ตัวคูณ 210




ชื่อหน่วย ตัวย่อ ตัวคูณ ชื่อหน่วย ตัวย่อ ตัวคูณ
กิโลไบต์ KB 103 กิบิไบต์ KiB 210
เมกะไบต์ MB 106 เมบิไบต์ MiB 220
จิกะไบต์ GB 109 จิบิไบต์ GiB 230
เทระไบต์ TB 1012 เทบิไบต์ TiB 240
เพตะไบต์ PB 1015 เพบิไบต์ PiB 250
เอกซะไบต์ EB 1018 เอกซ์บิไบต์ EiB 260
เซตตะไบต์ ZB 1021
ยอตตะไบต์ YB 1024
   

สรุป
หน่วยที่เล็กที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์คือ บิต(bit) และหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบข้อมูลคือ ไบต์(Byte) ในปัจจุบันอุปกรณ์บันทึกข้อมูลและหน่วยความจำต่างๆจะใช้หน่วยความจุเป็น KB, MB, GB, และTB เท่านั้น สำหรับหน่วย PB, EB, ZB, และYB ยังไม่มีอุปกรณ์หรือหน่วยความจำใดสามารถทำความจุได้มากขนาดนั้นจึงยังไม่มีการใช้ในปัจจุบันครับ



SPONSOR :

Lazada ราคาดีเกินห้ามใจ ช้อปเลย

Big C เริ่มช้อปออนไลน์ กับสินค้าหลากหลายได้แล้ววันนี้

Roojai.com ประกันรถออนไลน์ รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า

สมัครบัตร KTC PROUD เป็นทั้งบัตรกดเงินสด และบัตรผ่อนสินค้า

ADIDAS แบรนด์ผู้นำด้านกีฬายอดฮิต อาทิ รองเท้า กระเป๋า ชุดออกกำลังกาย และ เสื้อผ้า

เลือกช็อป ANELLO กระเป๋าแบรนด์ชื่อดังจากญี่ปุ่น










Mr.Love

ใช้ตัวย่อหน่วยความจุข้อมูล และ หน่วยความเร็วในการสื่อสารข้อมูลให้ถูกต้อง




หลายคนอาจจะเคยเห็นป้ายโฆษณาบางป้าย ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบางราย ระบุหน่วยของความเร็วอินเตอร์เน็ตเป็น MB แทนที่จะเป็น Mb ไม่อยากจะเชื่อว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่จะต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญด้านไอที จะผิดพลาดง่ายๆได้ จึงคิดว่าน่าจะเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาดมากกว่า

แต่เอาเถอะครับ ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนมากที่ยังไม่ทราบว่า MB กับ Mb มีความหมายต่างกันตรงไหน ในวงการไอทีการใช้ MB และ Mb ควรที่จะต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไรครับ


 
ความจุข้อมูล
สำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็น Hard Disk, Flash Drive, Memory Card หรือหน่วยความจำแบบต่างๆอย่าง RAM จะมีการระบุขนาดความจุข้อมูลที่สามารถจุได้ในอุปกรณ์ดังกล่าว และหน่วยที่ใช้ระบุความจุของข้อมูลก็คือ Byte ตัวย่อที่ใช้คือ B เช่น KB(กิโลไบต์) MB(เมกะไบท์) GB(กิกะไบต์) เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าคำว่า Byte จะใช้ตัวย่อบีใหญ่เป็นมาตรฐาน

Byte       ใช้ตัวย่อ        B

ความเร็วในการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์นั้น มีรูปแบบการสื่อสารอยู่หลายแบบ แต่จะมีหน่วยของความเร็วในการสื่อสาร หรือจะเรียกให้ถูกต้องว่าแบนด์วิธ(Bandwidth) เหมือนกันคือ บิตต่อวินาที (b/s) เช่น Kbps(กิโลบิตต่อวินาที) Mbps(เมกะบิตต่อวินาที) Gbps(กิกะบิตต่อวินาที) จะเห็นว่าคำว่า Bit จะใช้ตัวย่อบีเล็กเป็นมาตรฐาน(Kbps สามารถเขียนเป็น Kb/s ได้)

Bit       ใช้ตัวย่อ       b


สรุป
Bit และ Byte มีความหมายที่แตกต่างกัน ในการปฏิบัติงานด้านไอทีนั้น หากใช้ตัวย่อผิดความหมายก็จะผิด และอาจเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานได้ ถึงแม้เราจะพอเดาได้ว่าหมายถึงความจุข้อมูลหรือความเร็วในการสื่อสารข้อมูลก็ตาม แต่การใช้ให้ถูกต้องจะเป็นมาตรฐานและทำให้เราเข้าใจตรงกันได้ ดังนั้นควรใส่ใจใช้ให้ถูกต้องกันนะครับ














SPONSOR :

Big C เริ่มช้อปออนไลน์ กับสินค้าหลากหลายได้แล้ววันนี้

Roojai.com ประกันรถออนไลน์ รู้ใจกว่า ประหยัดกว่า

สมัครบัตร KTC PROUD เป็นทั้งบัตรกดเงินสด และบัตรผ่อนสินค้า

ADIDAS แบรนด์ผู้นำด้านกีฬายอดฮิต อาทิ รองเท้า กระเป๋า ชุดออกกำลังกาย และ เสื้อผ้า

เลือกช็อป ANELLO กระเป๋าแบรนด์ชื่อดังจากญี่ปุ่น








Mr.Love